การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
ก่อนอธิบายรายละเอียดเรื่องการรับจัดตั้งมูลนิธิ ทางเราจะเล่าถึงที่มาที่ไปก่อน ปัจจุบันมีมูลนิธิในประเทศไทยเป็นจำนวนมากซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมูลนิธิ เพื่อการกุศลสาธารณะที่แตกต่างกัน และในขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจในการที่จะจัดตั้งมูลนิธิเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังไม่มีความเข้าใจในความหมายของมูลนิธิตามกฎหมาย อย่างแท้จริง รวมถึงข้อกำหนดของกฎหมาย เอกสาร และขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิ จึงขอสรุปเพื่อให้ผู้สนใจมีความเข้าใจมากขึ้นดังนี้
รับจดทะเบียนมูลนิธิ
รับจดทะเบียนมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิดังนี้ มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
- ต้องมีกองทุนที่เป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่น ในจำนวนนั้นต้องมีเงินสดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
- ในกรณีที่มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐจะได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็น กองทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่ด้วยจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาทซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท
ขั้นตอนการรับจัดตั้งมูลนิธิ
- ดำเนินการยื่นแบบคำขอ พร้อมเอกสารประกอบตามที่ราชการกำหนด
– ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักงานเขต
– ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ต่างจังหวัดยื่นที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ - เมื่อสำนักเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้รับคำขอการจัดตั้ง จะดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้
2.1 ตรวจสอบคำขอและข้อบังคับว่าถูกต้องหรือไม่
2.2 ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ โดยวัตถุประสงค์ต้องไม่ขัดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือต่อความมั่นคงของรัฐ
2.3 ตรวจสอบรายการในคำขอหรือข้อบังคับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
2.4 ตรวจสอบประวัติผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ ต้องมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ - สำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ จะพิจารณาความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารก่อน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนมูลนิธิในกรุงเทพมหานคร คือปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายทะเบียนมูลนิธิในต่างจังหวัดคือผู้ว่าราชการจังหวัด
- เมื่อนายทะเบียนที่รับผิดชอบรับจดทะเบียนแล้ว จะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศรับจดทะเบียนมูลนิธิ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ
เพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ
เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สิน และรายการทรัพย์สินสำหรับตั้งมูลนิธิ
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ
4. คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิจากเจ้าของทรัพย์สิน (ข้อ 1) ที่มีผลตามกฎหมาย
6. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้
7. แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งหมด (ถ้ามี)
8. หนังสืออนุญาตจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตามข้อ 7
9. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)
10. หนังสืออนุญาตให้ใช้ชื่อ หรือนามสกุลจากเจ้าของชื่อ หรือทายาท (กรณีใช้ชื่อหรือชื่อสกุลของบุคคลประกอบเป็นชื่อมูลนิธิ)
11. หนังสืออนุญาตให้ใช้ชื่อหน่วยงาน หรือนิติบุคคล (กรณีใช้ชื่อหน่วยงานหรือนิติบุคคลประกอบเป็นชื่อมูลนิธิ)
12. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)