หลายคนอาจสงสัยว่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่เราเห็นหรือป้ายโฆษณาตามตึกตามถนนต่างๆนั้น เขาเสีย ภาษี กันยังไงเท่ากันไหมและมีข้อกำหนดในการเสียภาษีอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับภาษีป้ายกันครับ

ลักษณะป้ายแบบใดบ้างที่ต้องเสียภาษี ?

ป้ายที่จะต้องเสียภาษี คือป้ายที่มีเครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือสัญลักษณ์ที่บอกถึงการหารายได้ รวมถึงการแสดงชื่อต่างๆที่เป็นการโฆษณาที่มีรายได้โดยไม่ได้กำหนดว่าจะอยู่กับวัตถุชนิดใด ไม่ว่าจะเป็นป้ายขนาดใหญ่ หรือเพียงป้ายไม้เล็กๆตามข้างทางก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน

ป้ายที่ต้องเสียภาษีใครต้องเป็นคนจ่าย ?

แบ่งผู้รับผิดชอบจ่ายภาษีได้เป็นเป็น 2 กรณี แล้วแต่ข้อตกลง ในการขึ้นป้ายโฆษณานั้น คือ

  1. ผู้ที่เป็นเจ้าของป้ายนั้นต้องเป็นผู้จ่ายภาษีนั้น
  2. ผู้ที่เป็นเจ้าของสภานที่ ที่ ติดตั้งป้ายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย

    อัตราการคิดภาษี

    1. ภาษีป้ายประเภทที่ 1 : ป้ายที่มีข้อความเป็นภาษาไทยเท่านั้น อัตราภาษี 3 บาท / 500 ตร.ซม.
    2. ภาษีป้ายประเภทที่ 2 : ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยและอังกฤษรวมถึงภาพและเครื่องหมายการค้าต่างๆ  อัตราภาษี 20บาท / 500 ตร.ซม.
    3. ภาษีป้ายประเภทที่3 : ป้ายที่มี ข้อความภาษาไทยน้อยกว่าภาษาอังกฤษ หรือมีเพียง ภาษาอังกฤษเท่านั้น อัตราภาษี 40 บาท / 500 ตร.ซม.

    ขั้นตอนในการชำระภาษี

    1. ยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีป้ายกับเจ้าหน้าที่ได้ ภายใน เดือนมีนาคม ของทุกปี
    2. รอการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีว่าเรียบร้อยแล้ว
    1. สามารถชำระภาษีนั้นได้ ภายใน 15 วัน ซึ่งในกรณีที่ ภาษีที่ต้องชำระมีมูลค่ามากกว่า 3,000 บาท เราสามารถ ขอแบ่งชำระได้เป็น 3 งวด โดยการแจ้งกับเจ้าหน้าๆที่จะเสียภาษีนั้น

    บทลงโทษหากไม่มีการชำระภาษีป้าย

    1. หากผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายไม่ทำการยื่นแบบการจ่ายภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ เป็นจำนวนเงิน 10 % ของภาษีป้ายที่ต้องชำระในปีนั้น
    2. หากมีการยื่นภาษีที่ไม่ตรงกับความเป็นตรงซึ่งทำให้มีการเสียภาษีที่น้อยกว่าความเป็นจริง จะต้อง จ่ายภาษีที่ส่วนที่ ขาดไปให้ครบตามจำนวนจริงและเสียค่าปรับอีก 10% ของภาษีป้ายนั้นด้วย
    3. หากมีการยื่นภาษีและได้รับการประเมินจากเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการชำรพภาษี ภายใน 15 วัน จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มในอัตรา 2% ของภาษีป้ายนั้น

    รู้อย่างงนี้แล้วเราก็ควรวางแผนหรือปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้องเพื่อเราจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียค่าปรับหรือมีปัญหาในภายหลังได้ครับ

ทำความรู้จักกับ ภาษีป้ายโฆษณา
Tagged on:                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *